ผมขออณุญาตใช้คำว่า ตา-ยาย เพราะอายุท่านประมาณ 70 ปีแล้วครับ
สนทนากัน 3 คน ตา ยาย และผมยืนฟัง
-ยายม่วย.เขาเป็นคนพูดเสียงดัง พูดไม่เพราะ (หมายถึงตาวัฒ)
-ตาวัฒ. ก็พูดกับเอ็งแบบนี้มาตั้งแต่สาวๆ ตอนนี้จะให้พูดหวานๆหรือไง (ตาวัฒย้อนถามยายม่วย)
-ยายม่วย.เขาก็อย่างนี้แหละ
-ตาวัฒ.เป็นเมียข้า อายเค้าหรือป่าวล่ะ เป็นตำรวจตั้งแต่เงินเดือน 750 บาท
-ยายม่วย.ไม่ตอบ แต่พูดให้ผมฟังว่า ยายม่วยเรียนจบครู แต่สอบไม่ติด เลยต้องเลี้ยงควาย จูงควายตั้งแต่สาวๆ (ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้นั่งรถเก๋งรุ่นใหม่ ฟังเครื่องเสียงแพงๆตอนแก่)

ยายม่วยหัวเราะ
-ตาวัฒ. ข้าก็มีหน้าที่ออกไปทำงาน ทำมาหากินหาเงินเลี้ยงครอบครัว โดยทำสิ่งที่เรารักเราชอบ ทำงานแล้วมีความสุข (ตำรวจสายอบรม ให้ความรู้ สร้างอาชีพให้ชาวบ้าน)
-ยายม่วย. ฉันก็ตามเขาไปเกือบทุกที่
-ตาวัฒ. ข้าก็สอนคน สอนเมีย สอนลูก ให้ทำมาหากิน + สอนให้รู้จักค่าของเงิน สอนให้รู้ว่ากว่าจะได้เงินมาแต่ละบาทนั้น มันเหนื่อยยากแค่ไหน
-ยายม่วย. เขากดดันและดุเรามาก จนเราเก่ง
-ตาวัฒ. ต้องสอนให้เก่ง เพราะถ้าเราตายไป แล้วจะอยู่อย่างไร ถ้าไม่เก่ง
-ยายม่วย.ก็เหมือนกัน ฉันไปแล้วเขาจะอยู่ยังไง ข้าวนอกบ้านไม่กิน ร้านอาหารก็ไม่กิน จะกินแต่กับข้าวที่เราทำ ทุกมื้อตอนนี้ทั้งตาและยาย หันมาหาผม (ผมฟังแล้วรู้สึกยิ้มในใจ) ผมสัมผัสได้ถึงความห่วงใย ที่ตามีให้ยาย และที่ยายมีให้ตา
ผมนึกถึงคู่ครองหลายคู่ ที่อยู่ไม่รอด อยู่ด้วยกันไม่ได้ เหตุผลเพราะไม่มีความห่วงใยซึ่งกันและกัน แบบตาวัฒกับยายม่วย
เหตุผลเดียวที่เขาอยู่ด้วยกันมานาน ตั้งแต่หนุ่มสาว ยันแก่เพียงแค่
เหตุผลเดียวคือ ความห่วงใย ถ้าข้าตาย / ถ้าฉันไป แล้วแกจะอยู่อย่างไร